ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในภูเก็ตได้จริงหรือไม่
ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในภูเก็ตได้จริงหรือไม่

สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีอุปสรรคสำคัญหนึ่งข้อที่ทำให้รู้สึกต้องการตั้งถิ่นฐานได้เสมอ และนั่นคือความสามารถในการเป็นเจ้าของที่ดิน นี่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับหลาย ๆ คนที่พอใจเพียงแค่การเช่า แต่สำหรับบางคนที่ตัดสินใจอยู่ในระยะยาว มันคือประเด็นสำคัญ

 

Rent a house or apartment Cr: tirachardz

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยได้มีตัวเลือกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น: เช่าบ้าน หรืออพาร์ตเมนต์ ซื้อคอนโด เช่าที่ดิน และเป็นเจ้าของบ้าน (ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของโครงสร้างได้ แต่ไม่ใช่ทรัพย์สิน) หรือบริษัทเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัท การปล่อยเช่านั้นเจ้าของบ้าน/อพาร์ตเมนต์ทำได้ตามความต้องการของเจ้าของ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้เช่าจะละเมิดสัญญาการเช่า การเป็นเจ้าของคอนโดนั้นฝ่ายนิติบุคคลจะทำหน้าที่บริหาร และบำรุงรักษาอาคาร และพื้นที่ให้ 

การมีบริษัทที่เป็นเจ้าของที่ดิน/บ้านเป็นทรัพย์สินของบริษัทจะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาบริษัท ชาวต่างชาติไม่สามารถเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ และในทางเทคนิคแล้ว สถานการณ์นี้ถือว่าผิดกฎหมายหากบริษัทถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้เพียงอย่างเดียวโดยที่คนส่วนใหญ่ ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยจะทำหน้าที่เป็นตัวแทน 

 

Land for sale Cr: homeinphuket

 

ข่าวล่าสุดที่ประกาศว่าhttps://www.bangkokpost.com/business/2422513/cabinet-backs-expats-owning-landชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ ดูเหมือนว่าจะจุดประกายความหวังให้กับหลาย ๆ คน แน่นอนว่าสำหรับบุคคลบางกลุ่มนั้นนับเป็นการพัฒนากฎหมายการถือครองกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติให้ต้อนรับชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากการอ่านพิมพ์เขียวอย่างละเอียดแล้วได้เผยให้เห็นว่าข้อกำหนดนี้ได้ลดจำนวนผู้มีสิทธิ/เต็มใจลงจำนวนมาก ร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือครองที่ดินได้หนึ่งไร่ (1,600 ตร.ม.) ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และมีผลบังคับใช้กับชาวต่างชาติที่จัดอยู่ในสี่กลุ่มดังต่อไปนี้: 
      1. พลเมืองของโลก
      2. ผู้เกษียณอายุ
      3. พนักงานผู้ที่ต้องการทำงานบนอินเตอร์จากระยะไกลโดยถูกว่าจ้างในประเทศไทย
      4. ผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ชำนาญการซึ่งรับจ้างอยู่ในประเทศไทย


ร่างกฎหมายนี้มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือเปล่า เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด คุณต้องลงทุนอย่างน้อย 40 ล้านบาทใน “อสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ หรือกิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน” การลงทุนจะต้องคงอยู่เป็นเวลาอย่างน้อยสามปี มิฉะนั้นสิทธิ์ความเป็นเจ้าของจะถูกเพิกถอน
 

 

Title deed Cr: kachathailand.com

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในประเทศ ปัจจุบัน พื้นที่เหล่านี้รวมถึงโซนที่อยู่อาศัย เขตเทศบาลของทุกจังหวัด รวมถึงพื้นที่ที่ยังไม่ระบุของกรุงเทพฯ และพัทยา แน่นอนว่าใครก็ตามที่สนใจเข้าร่วมในโครงการนี้ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และขอความชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณโดยพานักแปลชาวไทยไปกับคุณด้วย

การพูดคุยหารือกันในประเทศไทยเกี่ยวกับหัวข้อการถือครองที่ดินของต่างชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นข้อโต้แย้งกันมาโดยตลอด หลายคนกังวลว่าจะส่งผลให้เกิดการแย่งชิงที่ดิน ส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น และทำให้คนไทยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินได้น้อยลง แม้ว่าปัจจุบันโครงการจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี แต่ก็มีความเห็นที่ไม่เห็นด้วยมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเมื่อเร็ว ๆ นี้ และไม่สามารถคาดเดาอายุที่แท้จริงของโครงการได้ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสถานะของที่ดินที่ซื้อภายใต้โครงการนี้หากร่างกฎหมายถูกเพิกถอน

บทความล่าสุด

กำลังมองหาบ้านอยู่ใช่ไหม ?

เราสามารถช่วยคุณค้นหาบ้านในฝันของคุณได้