คำชี้แจงเกี่ยวกับภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดภูเก็ต
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย
อัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2564 ได้ลดลงไป 90% เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรค Covid-19 นอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีจากมูลค่าทรัพย์สินของที่อยู่อาศัยหลักมูลค่า 50 ล้านบาท ในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้ครอบครองทั้งที่ดิน และบ้าน และมูลค่า 10 ล้านบาท ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้เป็นผู้ครอบครองที่ดิน

พระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทยที่นำมาบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ และเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีให้กับรัฐบาล รวมถึง เพื่อนำวิธีจัดเก็บภาษีโรงเรือนที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้กำลังส่งผลกระทบต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต และทั่วประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายใต้พระราชบัญญัตินี้:

  • มีการคำนวณที่มีมาตรฐานดีขึ้นกว่าเดิมโดยพิจารณาจากมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างตามที่กรมธนารักษ์เป็นผู้กำหนด ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ตรงกันข้ามกับการคำนวณก่อนหน้านี้ที่ใช้มูลค่าจากค่าเช่าที่ประเมินได้ซึ่งเป็นมูลค่าในพื้นที่

  • การจัดเก็บภาษีโรงเรือนจากทรัพย์สินเพื่อการอยู่อาศัย โดยที่ก่อนหน้านี้ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนประจำปีจึงทำให้ฐานภาษีมีโอกาสเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

  • เปลี่ยนจากอัตราคงที่ซึ่งอยู่ที่ 12.5% ต่อปีไปเป็นการปรับตามขั้นบันไดโดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของทรัพย์สิน

การจัดเก็บภาษีประเภทนี้ตกอยู่ภายใต้อำนาจขององค์การบริหารของเขต หรือตำบลในแต่ละพื้นที่

ราคาประเมินจะเหมือนกันกับที่ใช้ในการคำนวณภาษีการโอนทรัพย์สินที่สำนักงานที่ดินภายในพื้นที่ และมีการปรับปรุงเป็นประจำเพื่อแสดงให้เห็นมูลค่าของทรัพย์สินที่แท้จริงตามที่กรมธนารักษ์กำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติการประเมินทรัพย์สิน (พ.ศ. 2562) คาดว่าจะได้เห็นราคาประเมินเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถแสดงมูลค่าตลาดที่แท้จริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด


Handshake with house in background

Credit: Geralt on Pixabay

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

ที่ดิน อาคาร และห้องพักในคอนโดมิเนียมจะถูกจัดอยู่ในประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีภายใต้พระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

แต่มีข้อยกเว้นให้กับทรัพย์สินบางอย่าง ซึ่งรวมไปถึงทรัพย์สินที่รัฐเป็นเจ้าของ ใช้งานโดยรัฐบาลต่างประเทศ เช่น สถานฑูต สถานกงสุล และทรัพย์สินที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนา เป็นต้น

สำหรับเจ้าของทรัพย์สินเพื่อการอยู่อาศัยจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับ:

  • ทรัพย์สินที่มีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท สำหรับเจ้าของทั้งที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างแต่ละคน

  • ทรัพย์สินที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10 ล้านบาท สำหรับเจ้าของอาคาร รวมไปถึงห้องพักในคอนโดมิเนียม แต่ไม่ได้เจ้าของที่ดิน

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ การยกเว้นภาษีจะบังคับใช้กับที่อยู่อาศัยหลักของคุณเท่านั้น และไม่มีผลกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยอื่น ๆ เพิ่มเติม


Real estate investing

Credit: Nattanan23 on Pixabay

Tax Rates

การคำนวณจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามการใช้งาน โดยมีอัตราของเพดานภาษีของปี พ.ศ. 2563 ดังต่อไปนี้ตาม:

  • การเกษตร -  0.15%

  • ที่อยู่อาศัย -  0.30%

  • ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออยู่อาศัย - 1.20%

  • ทรัพย์สินที่ปล่อยทิ้งร้าง - 1.20% (เพิ่มขึ้น 0.3% ทุก ๆ 3 ปี ไปเป็นสูงสุดอยู่ที่ 3%)

บทความล่าสุด

กำลังมองหาบ้านอยู่ใช่ไหม ?

เราสามารถช่วยคุณค้นหาบ้านในฝันของคุณได้