ในภูเก็ตมีอุตสาหกรรมอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ย

เกาะภูเก็ตเป็นที่รู้จักกันในเรื่องของการท่องเที่ยว ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2503 และ 2513 เมื่อนักท่องเที่ยวสะพายเป้เริ่มเดินทางเข้ามา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงบางครั้งดูเหมือนว่าที่ภูเก็ตไม่มีอุตสาหกรรมอะไรนอกไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความจริงคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีเม็ดเงินเข้ามายังเกาะนี้มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ แต่ก็ยังมีอุตสาหกรรมบางประเภทที่ดำรงอยู่โดยไม่ขึ้นกับการท่องเที่ยวในระดับที่แตกต่างกันไ

การเกษตร

ก่อนที่จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนมากเหมือนในปัจจุบันนี้ ภูเก็ตเป็นผู้ผลิตพืชผลหลายชนิด ผลผลิตแรก และสำคัญที่สุด คือ ยางพาราซึ่งยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่นบนเกาะ ส่วนใหญ่แล้ว ที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ที่เป็นของเอกชนจะถูกปกคลุมด้วยทิวแถวที่เป็นระเบียบเรียบร้อยของต้นยางขนาดไม่สูง จะมีการลอกเปลือกไม้เป็นเส้นทแยงมุมขนาดเล็กในตอนเช้าตรู่ และน้ำยางจะหยดลงในชามขนาดเล็กซึ่งจะถูกรวบรวมเก็บเอาไว้ หลังจากเก็บน้ำยางเรียบร้อยแล้ว น้ำยางจะถูกนำมาแปรรูปให้กลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคมากมายตั้งแต่รองเท้าแตะ เสื้อผ้า ไปจนถึงยางรถยนต์ และถุงยางอนามัย 

พืชชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในภูเก็ต คือ สับปะรด เป็นเรื่องปกติที่เกษตรกรจะปลูกสับปะรดท่ามกลางต้นยางเป็นเวลา 6 ปีแรกจนกว่าจะโตพอที่ต้นยางจะสามารถให้น้ำยางได้ ภูเก็ตมีสับปะรดหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งมีขนาดเล็ก และมีรสชาติหวานมาก
 

Credit: technologychaoban.com

แม้ว่าการปลูกสับปะรดจะไม่ได้รับความนิยมเท่ากับต้นยางพารา แต่ภูเก็ตก็สนับสนุนให้ปลูกต้นปาล์มน้ำมันในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน ต้นปาล์มที่มีใบสีเขียวเข้มเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว ออกผลให้มากมายซึ่งสามารถนำมาสกัดน้ำมันได้ นอกจากนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ และปลูกง่ายอีกด้วย เกษตรกรทำเพียงแค่ให้ปุ๋ยกับต้นไม้เท่านั้นเพราะหลังจากที่ต้นปาล์มให้ผลผลิตจะมีคนเข้ามารับซื้อ และเก็บเกี่ยวให้ทั้งหมด น้ำมันปาล์มคิดเป็น 1 ใน 3 ของน้ำมันที่ได้จากพืชทั้งหมดในโลก น้ำมันมีประโยชน์มากมาย เช่น การทำอาหาร เครื่องสำอาง สบู่ และเชื้อเพลิงชีวภาพ สถานีบริการน้ำมันส่วนใหญ่ในภูเก็ตมีน้ำมันดีเซล B7 ซึ่งมีเชื้อเพลิงชีวภาพ 7% ซึ่งน่าจะมาจากน้ำมันปาล์มทั้งหมด 

ผลผลิตทางการเกษตรของภูเก็ตลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมูลค่าของที่ดินเพิ่มขึ้น และสามารถขายได้กำไรมากขึ้นให้กับเจ้าของ หรือนำไปพัฒนาที่ดินเป็นอย่างอื่นมากกว่าใช้ปลูกผลผลิตทางการเกษตร
 

ประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

มันอาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเล็กน้อยที่ภูเก็ตมีอุตสาหกรรมการประมงที่แข็งแกร่ง ท้ายที่สุดแล้วชาวเลดั้งเดิมคือ ชาวเล จะใช้เวลาหลายเดือนในการตกปลาทะเล และเก็บสะสมสิ่งมีชีวิตในทะเล ปัจจุบันการทำประมงพื้นบ้านทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการแพร่หลายของอวนลากที่ถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมายซึ่งส่งผลเสียจนระบบนิเวศทางทะเลใกล้จะพังทลาย

Credit: thaiunion.com

มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำค่อนข้างน้อยรอบ ๆ เกาะ ทั้งบนบกและในทะเล เราสามารถมองเห็นบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวนมากได้จากการมองลงมาจากเครื่องบินซึ่งหลายแห่งมีฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เป็นเรื่องปกติที่เราจะได้เห็นรถปิกอัพที่ติดตั้งเครื่องปั๊มเติมอากาศ และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ รถปิกอัพเหล่านี้กำลังขนส่งกุ้งรุ่นเยาว์ซึ่งไม่สามารถอยู่รอดได้นานในการขนส่ง ดังนั้นคุณจึงมักจะเห็นพวกเขาขับรถอย่างรวดเร็ว

ภูเก็ตยังเป็นที่ตั้งของฟาร์มเลี้ยงหอยมุกนอกชายฝั่งซึ่งเปิดดำเนินการมาหลายสิบปีแล้ว หอยมุกเพาะพันธุ์ด้วยการฝังนิวเคลียสซึ่งมุกจะสะสมตัวอยู่รอบ ๆ ผูกกับเชือกที่ห้อยลงมาจากทะเล และเก็บเกี่ยวได้หลังจากผ่านไปประมาณ 1-2 ปี ฟาร์มบางแห่งเปิดให้กับผู้ที่สนใจเข้าชมอุตสาหกรรมที่ไม่เหมือนใครนี้ 

บทความล่าสุด

กำลังมองหาบ้านอยู่ใช่ไหม ?

เราสามารถช่วยคุณค้นหาบ้านในฝันของคุณได้