Culture Shock หรืออาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมคืออะไร และ คุณจะรู้สึกได้หรือไม่เมื่อย้ายมาอยู่ที่ภูเก็ต
ชาวต่างชาติรับรู้ได้ถึงอาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมเมื่อย้ายไปภูเก็ตหรือไม่?

อาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมเป็นคำศัพท์ที่อธิบายความหมายได้ตรงไปตรงมา บางคนต้องต่อสู้กับวัฒนธรรมต่างประเทศบางอย่างเพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่คุ้นเคย คำอธิบายนี้ครอบคลุมส่วนหนึ่งของอาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม แต่ความจริง ๆ แล้วเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ได้มีศึกษา และจัดทำเป็นเอกสารอย่างดีซึ่งชาวต่างชาติจำนวนมากอาจพบเจอได้จากหลายวิธี นักจิตวิทยาได้แบ่งอาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมนี้ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะฮันนีมูน การเจรจา การเปลี่ยนแปลง และการปรับตัว 

ระยะฮันนีมูนนั้นค่อนข้างอธิบายได้ในตัวมันเอง มีแนวโน้มว่าผู้คนจำนวนมากที่มาเที่ยวภูเก็ตอย่างสนุกสนานจะได้รับประสบการณ์นี้ในระดับที่แตกต่างกันไป บางทีพวกเขาอาจพูดคุยกับคนท้องถิ่น และชาวต่างชาติที่เป็นมิตร รู้สึกตื่นตาตื่นใจในการดำน้ำ หรือออกไปเที่ยวที่ชายหาด และหลังจากรับประทานอาหารเย็นอาจพบรายชื่อขายอสังหาริมทรัพย์ติดอยูบนหน้าต่างของตัวแทนขายที่ทำให้จิตใจของพวกเขารู้สึกเริ่มหลงทาง ระยะฮันนีมูนอาจมีเวลาประมาณสามเดือน

ต่อมาคือระยะการเจรจาซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมบางอย่างที่ถือว่าน่าหลงใหล หรือแปลกตาเริ่มให้ความหมายที่แตกต่างออกไป ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตมานานหลายคนเคยประสบเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเอง หรือเคยพบเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นกับคนอื่น ความคิดถูกเปลี่ยนไปจากความสับสน จนทำให้เกิดความรำคาญ ความผิดหวัง และหงุดหงิด ชาวต่างชาติหลายพันคนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ข่าวออนไลน์เพื่อโพสต์ความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง พวกเขาไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ทำแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง หรือพวกเขารู้สึกว่าความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ชาวต่างชาติบางคนอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลาหลายปี และดูเหมือนจะยังคงติดอยู่กับระยะนี้ ทำให้แทบจะไม่พยายามเรียนรู้ภาษาไดเเลย วิพากษ์วิจารณ์วิธีการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และปฏิเสธที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์ และวิธีรับมือแบบทำลายตัวเองอื่น ๆ

ความแตกต่างที่ชาวต่างชาติต้องต่อสู้กับสิ่งต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ สุขอนามัย ทัศนคติต่อผู้มีอำนาจ เช่น ตำรวจ และกรมตรวจคนเข้าเมือง พื้นที่ส่วนตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคด้านภาษา แน่นอนว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน และเมื่อความสามารถในการสื่อสารมีประสิทธิภาพลดลงอาจนำไปสู่ความรู้สึกหงุดหงิด หมดหนทาง และรู้สึกเหงา 

หลังจาก 6-12 เดือนผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ว่า หลายคนเปลี่ยนเข้าสู่ระยะเปลี่ยนแปลง เมื่อถึงระยะนี้ ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังในสถานการณ์ต่าง ๆ และในชีวิตประจำวันก็มาถึงซึ่งทำให้มีทัศนคติเชิงบวกมากขึ้น และระยะสุดท้าย คือ ระยะการปรับตัวซึ่งจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรู้สึกสบายใจ และยอมรับกับวัฒนธรรมของประเทศเจ้าบ้านได้ในระดับหนึ่ง 

แล้วตอนนี้คุณก็สามารถรับมือกับอาการตื่นตระหนกทางวัฒนธรรมได้ หากไม่ใช่ด้วยเหตุผลอย่างเช่น งานของคุณทำให้คุณมาอาศัยอยู่ที่นี่ ให้พิจารณาอย่างรอบคอบว่าทำไมคุณถึงต้องการอาศัยอยู่ในต่างประเทศโดยเฉพาะในภูเก็ต คุณให้ความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมอย่างจริงจัง มีความละเอียดอ่อน และเคารพวัฒนธรรมนี้หรือไม่? คุณเต็มใจที่จะพยายามเรียนรู้ภาษาหรือไม่? คุณสามารถสละสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในชีวิตประจำวันที่เรามองข้ามไปได้หรือไม่? แม้ว่าคุณอาจต้องเผชิญกัยอุปสรรคต่าง ๆ มากมายเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และคุ้มค่าเช่นกัน

บทความล่าสุด

กำลังมองหาบ้านอยู่ใช่ไหม ?

เราสามารถช่วยคุณค้นหาบ้านในฝันของคุณได้