กีฬาในจังหวัดภูเก็ตที่คุณจะไม่พบเห็นที่บ้านเกิด

สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยคือความแตกต่างหลายอย่างเมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคยในประเทศบ้านเกิดของพวกเขา แน่นอนว่านี่คือแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังว่าทำไมผู้คนจำนวนมากจึงจัดกระเป๋าเพื่อไปสำรวจโลก เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกแล้วในประเทศไทยมีแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตที่ดูแปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รูปแบบสถาปัตยกรรม และศาสนา และในขณะเดียวกันคุณจะได้พบผู้คนจำนวนมากที่หมกมุ่นอยู่กับกีฬาฟุตบอล และคุณอาจพบกีฬาบางอย่างที่คุณจะไม่พบเห็นที่บ้านเกิดของคุณ 

เซปักตะกร้อ

Sepak takraw | Cr: มติชนอนนไลน์

เซปักตะกร้อเป็นกีฬาที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เล่นในสนามที่มีขนาดใกล้เคียงกับสนามตีแบดมินตันประเภทคู่โดยมีชุดตาข่ายที่มีความสูง 1.52 เมตร

เมื่อมองแว๊บแรกจะดูเหมือนว่าการแข่งขันวอลเลย์บอลกับลูกบอลขนาดเล็ก แต่ความแตกต่างใหญ่อยู่ที่ เซปักตะกร้อไม่สามารถใช้มือแตะต้องลูกตะกร้อได้โดยจะต้องใช้เท้าเล่น และมีความแตกต่างกันอยู่มากมาย อย่างแรก ลูกบอลมีขนาดเล็กกว่า และทำจากหวายสานแต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยวัสดุสังเคราะห์ โดยปกติจะเล่นเป็นทีมจำนวนสอง หรือสามคน ระบบการให้คะแนนเหมือนกับการเล่นแบดมินตัน กีฬาสร้างความน่าประทับใจให้กับผู้ชมเมื่อผู้เล่นแสดงท่ากายกรรมกระโดดเตะลูกตะกร้อ หรือตีลังกากลับหัว

ด้วยความคล้ายคลึงกันกับวอลเลย์บอล และแบดมินตัน อาจมีคนสรุปได้ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาที่แยกออกมาใหม่แต่ว่าเซปักตะกร้อมีมาได้ระยะหนึ่งแล้ว บันทึกทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามีการฝึกฝนมาประมาณ 1,500 ปีในประเทศมาเลเซียซึ่งเติบโตจากการสาธิตทักษะทางกายภาพพร้อมภาพสะท้อนให้เห็นถึงการเต้นรำแบบชาวพม่า และศิลปะการต่อสู้ ในประเทศไทยมีการเล่นกันมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2152 

ปัจจุบัน เซปักตะกร้อรวมอยู่ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายรายการ โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขันมากมาย 
 

มวยไทย/มวยไชยา

Muay Chaiya | Cr:ข่าวมวย

มวยไทยเป็นกีฬาพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ที่เหมือนกับกีฬาที่มวยไทย 

มวยไทยเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการต่อสู้ และคิกบ็อกซิ่ง มวยไทยเป็นการฝึกฝนแบบโบราณที่มีรากฐานมาจากการต่อสู้ทางด้วยการใช้ร่างกาย มันผสมผสานการประลองยุทธ์ในแนวรุก และแนวรับของการชกมวยสไตล์ตะวันตกโดยเน้นที่การชกในระยะประชิดด้วยศอก และเข่า 

มวยไทย และมวยไชยามีความแตกต่างกันในรูปแบบของการยืน ตี และสู้กลับ โดยที่มวยไชยาให้ความสำคัญกับเทคนิคการป้องกัน และการสู้กลับ 
 

การแข่งขันว่าว

Kite fighting | Cr: 77ข่าวเด็ด

เนื่องจากกีฬานี้เป็นกีฬาตามฤดูกาลที่ขึ้นอยู่กับลมจึงไม่ค่อยมีคนเข้าชมมากเมื่อเทียบกับมวยไทย หรือเซปักตะกร้อ อย่างไรก็ตาม มันเป็นกีฬาตามประเพณีที่มีอายุอย่างน้อย 700 ปี ส่วนใหญ่จะมีการฝึกฝนกันระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน และมีหลายจังหวัดเป็นเจ้าภาพการแข่งขันประจำปี นับเป็นมรดกตกทอดที่สำคัญของคนไทยทุกคนตั้งแต่ชาวนา และสามัญชนไปจนถึงสมาชิกในราชวงศ์ 

สิ่งที่ทำให้กีฬาชนิดนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษคือการออกแบบ สร้าง และตกแต่งว่าวอย่างประณีต ว่าวมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศซึ่งแสดงให้เห็นรูปทรง และรูปแบบการตกแต่งที่แตกต่างกัน 

การแข่งขันประกอบด้วยสองทีมที่มีสมาชิกไม่เกิน 10 คน ทีมหนึ่งเล่นว่าวจุฬาซึ่งเป็น "ตัวผู้" และอีกทีมเป็นว่าวปักเป้าซึ่งเป็น "ตัวเมีย" ว่าวจุฬาสูงประมาณ 2-2.5 เมตร และมีความแข็งแรง ว่าวจุฬามีหนามไม้ไผ่สามอันที่เชือกด้านล่างของว่าวซึ่งเอาไว้คอยดักจับว่าวปักเป้า ว่าวปักเป้าสูงเพียง 1 เมตรซึ่งมีความเบา บอบบาง และคล่องแคล่ว มีหางว่าวซึ่งใช้เพื่อพยายามเอาชนะ และรัดว่าวจุฬา กีฬานี้เต็มไปกติการเล่นพร้อมคำเปรียบเทียบเสมือนกับว่าผู้ชายกำลังไล่ตามผู้หญิงที่เขาต้องการ 
 

กำลังมองหาบ้านอยู่ใช่ไหม ?

เราสามารถช่วยคุณค้นหาบ้านในฝันของคุณได้