เกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเต็มไปด้วยความน่าทึ่ง นี่คือประวัติศาสตร์ของภูเก็ตฉบับย่อ...
Chao Ley or Moken | Credit: beesjourney.com
ผู้คนอาศัยอยู่ที่ภูเก็ตกันมาหลายพันปีแล้ว และมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถพิสูจน์ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีหลักฐานในภาษาชวาในประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีอายุย้อนหลังไปถึง 700,000 ปี มันจึงไม่ใช่เรื่องจินตนาการที่จะคิดว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ได้ท่องไปในป่าของภูเก็ตมาแล้วเป็นเวลานาน ในช่วงสหัสวรรษที่ผ่านมา ชนเผ่าท้องถิ่นได้ออกล่า หาอาหาร และจับปลา และลูกหลานของผู้อยู่อาศัยในยุคแรก ๆ เหล่านี้บางส่วนยังคงอยู่ที่นี่ - ชาวเลย์ หรือ มอแกน หรือในภาษาอังกฤษ คือ พวกยิปซีทะเล
หนึ่งในหนังสืออ้างอิงถึงภูเก็ตที่เก่าแก่ที่สุด คือ นักสำรวจชาวโปรตุเกสในทศวรรษที่ 1500 จนกระทั่งถึงช่วงเวลานั้น เกาะนี้เป็นที่รู้จักในฐานะจุดแวะพักสำหรับพ่อค้าเครื่องเทศที่เดินทางมาจากอินโดนีเซีย และเกาะโดยรอบ ชาวยุโรปได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งแร่ดีบุกที่อุดมสมบูรณ์ของภูเก็ตซึ่งเป้นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ และความพยายามในการล่าอาณานิคม และในท้ายที่สุดทุกอย่างก็ล้มเหลว แม้ว่าความสนใจในทรัพยากรของเกาะจะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น แต่โจรสลัด และพื้นที่ซึ่งไม่มีกำหมายทั่วไปกำหนดจึงได้ลดความนิยมของภูเก็ตลงตลอดศตวรรษที่ 16
ศตวรรษต่อมา มหาอำนาจยุโรปหลายแห่งแย่งชิงการควบคุมการค้าดีบุกกับภูเก็ต ในที่สุดก็เป็นชาวฝรั่งเศสเข้ามาควบคุม โดยที่ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมาสองสามปี
A Memorial of Lady Chan and Lady Mook | Credit: Hotels.com
ประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งต่อไปเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2328 เมื่อชาวพม่าพยายามบุกเกาะ ผู้ว่าราชการจังหวัดทหารของภูเก็ตเพิ่งเสียชีวิต และผู้บุกรุกคิดว่าจะสามารถคว้าเกาะมาเป็นเจ้าของได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม สองสาวพี่น้องอันชาญฉลาดได้วางแผนที่จะให้ผู้หญิงในท้องถิ่นแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารของผู้ชาย ชาวพม่าคิดว่ากองกำลังป้องกันของไทยดูแข็งแกร่งเกินไปด้วยการสังเกตุจากระยะไกล และพวกเขาก็นำทัพถอยกลับไป พี่น้องสตรีได้รับการอมตะในฐานะผู้กอบกู้เกาะ และเป็นหัวข้อของอนุสาวรีย์วีรสตรีที่เห็นในปัจจุบันที่วงเวียนบนถนน เทพกระษัตรี
Phuket Mining Museum | Credit: Hotels.com
เป็นเวลาอีก 200 ปี หรือยาวนานกว่านั้น การผลิตดีบุกได้ทิ้งเงาอันยาวนานอยู่เหนือประวัติศาสตร์อื่น ๆ ของเกาะ ผู้อพยพชาวจีนหลายพันคนหาทางไปภูเก็ตเพื่อมีส่วนร่วมในการขุดเหมืองที่เฟื่องฟู การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบากสำหรับพวกเขาหลายคน และถูกครอบงำด้วยการทำงานหนักคั่นด้วยการสูบฝิ่น และซ่องโสเภณี การทำเหมืองสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมบนเกาะสูงชัน โดยมีเหมืองแบบหลุมเปิดกระจายอยู่ทั่วภูมิประเทศ ทะเลสาบ และบ่อน้ำเกือบทุกแห่งในภูเก็ต รวมถึงบริเวณรอบ ๆ รีสอร์ตลากูน่าที่หรูหรา และอุปสรรคน้ำที่สนามกอล์ฟที่คุณชื่นชอบ ล้วนเป็นเหมืองดีบุกที่หลงเหลืออยู่ เมื่อเทคโนโลยีการขุดเหมืองก้าวหน้ามากขึ้น เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามันแห่งนี้ได้กลายเป็นผู้ผลิตดีบุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก การขุดเหมืองยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งโรงงานแปรรูปสุดท้ายปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2535
ในแง่ของทรัพยากร การผลิตยางได้กลายเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักในช่วงศตวรรษที่ 20 ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้ผลิตยางชั้นนำระดับโลก ดังที่เห็นได้ทั่วไปทั่วทั้งเกาะในปัจจุบัน การผลิตยางยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่นี่ แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกจะถูกกำจัด และขายออกไปสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม
Phuket Luxury Hotel | Credit: travelinglifestyle.net
พวกเราทุกคนรู้ดีว่าภูเก็ตมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางไหน นั่นก็คือ – การท่องเที่ยว ตั้งแต่นักเดินทางสะพายกระเป๋าเป้ในช่วง พ.ศ. 2503 และ พ.ศ. 2513 ไปจนถึงรีสอร์ทระดับ 5 ดาวที่หรูหรา และเรือยอทช์สุดพิเศษในยุคปัจจุบัน รวมถึง การท่องเที่ยวได้พลิกโฉมภูเก็ตไปในทางที่ดี ชายหาดของเกาะนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นชายหาดที่สวยงามที่สุด และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากถึง 10 ล้านคนในบางปี มีจำนวนห้องพักในโรงแรมหลายหมื่นห้อง
มีสวนน้ำขนาดใหญ่ ร้านค้าแบรนด์เนมหรูหรา ถนนกว้างหกเลน โรงเรียนนานาชาติ ประชากรชาวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลก และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 14 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์รวมในประเทศทั้งประเทศ จังหวัดภูเก็ตได้เดินทางมาไกลจากยุคอาณานิคมของยุโรป และโจรสลัดที่ปล้นสะดมมาจนถึงปัจจุบัน